Thursday, January 12, 2012

กรมพระคลังสินค้า

 กรมพระคลังสินค้า

สมัยสุโขทัย มีคำสำหรับเรียกภาษีชนิดหนึ่งซึ่งเก็บจากการนำสัตว์สิ่งของมาจำหน่ายว่า จกอบ และการเก็บภาษีนี้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง กรุงสุโขทัยได้มีประกาศยกเว้นแก่ผู้เข้ามาค้าขาย
สิ่งก่อสร้างสมัยสุโขทัย
จาก ข้อความที่ว่าแต่เดิมมีการจัดเก็บจังกอบ จำกอบ หรือจกอบนี้ เป็นค่าเดียวกัน เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของสินค้าไปเพื่อขายในที่ ต่างๆ หรือหมายถึงภาษีที่เก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นจะเก็บในอัตรา 10 ชัก 1 และการเก็บนั้นมิได้เก็บเป็นตัวเงินเสมอไป คือเก็บเป็นสิ่งของแทนตัวเงินก็ได้แล้วแต่จะเก็บอย่างใดได้สะดวก เพราะในสมัยนั้นวัตถุที่ใช้แทนเงินตรายังไม่สมบูรณ์ ในยุคสมัยนั้น ในการจัดเก็บจังกอบ รัฐบาลจะตั้งเป็นสถานที่คอยดักเก็บในสถานที่ที่สะดวก เช่นถ้าเป็นทางบก ก็จะไปตั้งที่ปากทางหรือทางที่จะเข้าเมือง ถ้าเป็นทางน้ำ ก็จะตั้งใกล้ท่าแม่น้ำหรือเป็นทางร่วมสายน้ำ โดยสถานที่เก็บจังกอบ เรียกว่า ขนอน ทั้งนี้ขนอนจะเป็นที่คอยเก็บจังกอบสินค้าทั่วไป ไม่เฉพาะเพียงการนำเข้าและขนออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้น เพราะมีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ขนอนชั้นนอก ขนอนชั้นใน และ ขนอนตลาด เป็นต้น
          การจัดเก็บจังกอบเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนยุคสุโขทัย และได้ยกเว้นไม่เก็บจังกอบจากราษฎรเลยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในภายหลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีหลักฐานว่า ในยุคสุโขทัยได้มีการจัดเก็บจังกอบจากราษฎรอีกหรือไม่


              สมัยกรุงศรีอยุธยาฯ

ติดต่อค้าขาย
          ได้มี การจารึกในประวัติศาสตร์ว่า เป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก การก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 1893 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างพระนครขึ้นที่ริมหนองโสน แล้วทำการราชาภิเษกทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ขนานนามราชธานีว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ในช่วงตลอดอายุกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา 417 ปี บ้านเมืองมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก คือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ในบางรัชสมัยพระมหาธรรมราชาและพระเพทราชา
ในส่วนที่เป็นภาษีซึ่งเรียกเก็บจากการค้ากับต่างประเทศมีหลักฐานในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่ามีการเก็บ 2 อย่างคือ
1.        จังกอบ เรือสินค้า หรือที่เรียกว่า ค่าปากเรือ โดยเก็บตามพิกัดขนาดปากเรือ โดยกำหนดว่าเรือลำใดปากกว้างกว่า 6 ศอก แม้จะยาวไม่ถึง 6 วา เก็บค่าปากเรือลำละ 6 บาท
2.        จังกอบสินค้า  เก็บจากสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก  จังกอบ สินค้านี้เองที่ในสมัยต่อมาก็คือภาษีซึ่งการเก็บภาษีขาเข้าในสมัยอยุธยามี ข้อกำหนดและข้อยกเว้นว่าถ้าเป็นเมืองที่มีพระราชไมตรีและไปมาค้าขายไม่ขาดจะ เก็บค่าปากเรือ 4 วาขึ้นไป วาละ 12 บาท และเก็บภาษีสินค้า 100 ชัก 3 และสำหรับที่ไม่ได้ค้าขายประจำ เก็บค่าปากเรือ วาละ 20บาทและ เก็บภาษีสินค้า 100 ชัก 5
จังกอบ เรือสินค้าและจังกอบสินค้าถือได้ว่าเป็นภาษีศุลกากรสมัยอยุธยานี้สันนิฐาน ว่าเจ้าหน้ารับผิดชอบการจัดเก็บได้แก่ นายขนอน อยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งว่าการกรมท่าและในส่วนของการจัดเก็บตามหัวเมืองเป็นหน้าที่ของเจ้าเมือง ในแต่ละหัวเมือง อยู่ในการบังคับของสมุหนายก สมุหพระกลาโหม และกรมท่า
สมัยกรุงธนบุรี  และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3 )

การติดต่อค้าขายด้วยเรือสำเภา

          การ จัดเก็บส่วยสาอากรทั้ง 4 ประเภท ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ถูกกำหนดเป็นรูปแบบการจัดเก็บต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และตอนต้นรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องการใช้เงินในราชการมากกว่าแต่ก่อนพระองค์จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเป็นผลให้เกิดการจัดเก็บ ภาษีขึ้นใหม่ 38 ประเภท ทั้งนี้โดยเป็นภาษีที่เก็บจากการพนัน และจากผลผลิตประเภทต่างๆ จำแนกได้ดังนี้

-  บ่อนเบี้ย หวย ก.ข. ภาษีเบ็ดเสร็จ (เก็บของลงสำเภา)

-  ภาษีของต้องห้ามหกอย่าง (ได้แก่ อากรรังนก, ไม้กฤษณา, นอแรด, งาช้าง, ไม้จันทร์, ไม้หอม)

-  ภาษีพริกไทย (เก็บจากผู้ซื้อลงสำเภา)

-  ภาษีพริกไทย (เก็บจากชาวไร่ที่ปลูกพริกไทย)

-  ภาษีฝาง
-  ภาษีไม้แดง (เก็บจากผู้ซื้อลงสำเภา)
-  ภาษีไม้แดง (เก็บจากผู้ขาย)

-  ภาษีเกลือ
-  ภาษีน้ำมันมะพร้าว
-  ภาษีน้ำมันต่างๆ

-  ภาษีกะทะ
-  ภาษีต้นยาง
-  ภาษีไต้ชัน

-  ภาษีฟืน
-  ภาษีจาก
-  ภาษีกระแซง

-  ภาษีไม้ไผ่ป่า
-  ภาษีไม้รวก
-  ภาษีไม้สีสุก

-  ภาษีไม้ค้างพลู
-  ภาษีไม้ต่อเรือ
-  ภาษีไม้ซุง

-  ภาษีฝ้าย
-  ภาษียาสูบ
-  ภาษีปอ

-  ภาษีคราม
-  ภาษีเนื้อแห้ง
-  ปลาแห้ง

-  ภาษีเยื่อเคย
-  ภาษีน้ำตาลทราย
-  ภาษีน้ำตาลหม้อ

-  ภาษีน้ำตาลอ้อย
-  ภาษีสำรวจ
-  ภาษีเตาตาล

-  ภาษีจันอับ ไพ่ เทียนไขเนื้อ
   และขนมต่างๆ
-  ภาษีปูน
-  ภาษีเกวียน โคต่าง

-  เรือจ้างทางโยง
 
 

          และในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกอากรซึ่งเคยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา 2 ชนิดคือ อากรรักษาเกาะ และอากรค่าน้ำ
 
อาคาร
          ดังนั้น คำว่า ภาษี จึงเข้าใจว่าคงเกิดขึ้น ในรัชกาลที่ 3 นี้เอง โดยคาดคะเนกันว่า น่าจะมาจาก คำในภาษาแต้จิ๋วว่า บู้ซี อันหมายถึง สำนักเจ้าพนักงาน ทำการเก็บผลประโยชน์แผ่นดินซึ่งตั้งขึ้นจากระบบเจ้าภาษีนายอากรนี่เอง คำว่าภาษีนี้ จะใช้กับอากรที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อให้ฟังดู แตกต่างจากอากรเก่าที่เคยจัดเก็บมาแต่โบราณ

"...เกิดอากร ขึ้น ใหม่ๆ ได้เงินใช้ในราชการแผ่นดิน ดีกว่ากำไรค้าสำเภา อากรเหล่านั้นให้เรียกว่า ภาษี เพราะเป็นของที่เกิดขึ้นใหม่เหมือนหนึ่งเป็นกำไร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้เห็นว่าเงินเก่าเท่าใด เกิดขึ้นในรัชกาลของท่านเท่าใด... การบังคับบัญชาอากรเก่าใหม่เหล่านี้ จึงได้แยกออกเป็นสองแผนก อากรเก่าอยู่ในพระคลังมหาสมบัติ อากรใหม่ซึ่งเรียกว่า ภาษี อยู่ในกรมพระคลังสินค้า คงเรียกชื่อว่าอากรอยู่ แต่หวยจีนก.ข. ซึ่งเป็นของเกิดใหม่แต่คล้ายกับอากรบ่อนเบี้ยของเดิม จึงคงเรียกว่าอากร แต่ก็คงยกมาไว้ในพวกภาษีเหมือนกัน"
 การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2411)

          ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวต่างประเทศเข้ามาติดต่อค้าขายกับประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ได้ส่งเซอร์จอห์น เบาริ่ง เจ้าเมืองฮ่องกง เป็นราชฑูตเชิญพระราชสาส์น เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีในปีพ.ศ. 2397 ทั้งนี้โดยมีข้อความของสนธิสัญญาทางด้านภาษีที่สำคัญประการหนึ่งคือ ให้มีการยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือที่เก็บตามสัญญา ฉบับปี พ.ศ. 2369 โดยให้เก็บภาษีขาเข้าแทน และให้เก็บในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของสินค้าเท่านั้น ผลของสัญญาฉบับนี้ได้ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ที่ต้องเลิกเก็บค่าธรรมเนียมสินค้าขาเข้าขาออกอย่างแต่ก่อน ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาลไทยจำเป็นต้องยอมทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันกับประเทศ ในแถบยุโรปอีกหลายประเทศ เพราะขณะนั้นประเทศในแถบยุโรปมีแสนยานุภาพด้านกองทัพมาก และได้เข้ามามีอำนาจในเอเซียตะวันออก ดังนั้น เพื่อให้เป็นการคงรักษาเอกราชไว้ รัฐบาลจึงจำต้องทำสนธิสัญญาดังกล่าว รวมทั้งรัฐบาลไทยต้องยอมให้นานาประเทศมีการซื้อขายสินค้ากับราษฎรได้อย่าง เสรี ทั้งนี้โดยให้เสียภาษีตามพิกัดอัตราที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ทำให้ผลประโยชน์รายได้ภาษีของรัฐบาลตกต่ำลงเป็นอย่างมาก รัฐบาลในขณะนั้นจึงขาดแคลนเงินทุนเพื่อนำมาทำนุบำรุงให้ทันกับความเจริญของ บ้านเมือง

         สำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรก็ยังแยกย้ายกันอยู่ตามกรมต่างๆเช่น ภาษีขาเข้า ร้อยชักสามขึ้นกับกรมกลาโหม
ภาษีข้าวขาออกขึ้นกับกรมท่า  เป็นต้น